คนในทีมไม่ค่อยถูกกัน องค์กรจะยื่นมือเข้าไปช่วยได้อย่างไรบ้าง? 

Team Relationship

บทความที่เกี่ยวข้อง


ความสัมพันธ์ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหนล้วนเป็นสิ่งที่เปราะบาง ยิ่งถ้าหากเป็นความสัมพันธ์ในทีมที่มีเรื่องหน้าที่การงานเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นเรื่องที่เปราะบางและจัดการยาก เพราะต้องเจอกันบ่อยและต้องทำงานด้วยกันอีก หลาย ๆ ทีมในหลาย ๆ องค์กรก็เป็นแบบนี้ ไม่ชอบกันแต่ต้องทำงานด้วยกัน แต่ก็เลือกปล่อยมันไปเพราะมันเป็นแค่เรื่องงาน พอเลิกงานทุกอย่างก็จบลง ถ้ามันไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของทีมก็อาจไม่เป็นปัญหามากนัก แต่นานเข้า ๆ มันอาจสร้างปัญหาได้ เช่น อาจทำให้สมาชิกทีมที่มีศักยภาพลาออกได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อทีมและประสิทธิภาพของงานได้

ความสำคัญของ Team Relationship ความสัมพันธ์ของทีม

ทีมที่ทำงานดีและมีประสิทธิภาพสร้างได้จากการมีความสัมพันธ์ภายในทีมเป็นไปในทิศทางที่ดี ลองพิจารณาจากปัจจัยที่กล่าวไปเบื้องต้น หากคนในทีมมีลักษณะนิสัยส่วนตัวที่แตกต่างกัน ในบางทีมมันอาจไม่เป็นปัญหา แต่สำหรับบางทีม อาจมีคนที่ไม่ชอบพูดอยู่ในทีม ก็อาจเป็นปัญหาเวลาประชุมหรือแสดงความคิดเห็นก็เป็นได้ แต่ถ้าหากมีทักษะการเข้าสังคมที่ดี เช่น วางตัวดี ใจเย็น รู้ว่าควรพูดอะไรตอนไหน ก็อาจช่วยการมีนิสัยที่ไม่ชอบพูดเป็นปัญหาสำหรับทีมมากนัก 

การมีลักษณะการพูดหรือสไตล์การพูดบางรูปแบบอาจทำให้คนในทีมรู้สึกไม่ดี เช่น ชอบใช้คำพูดที่ไม่รักษาน้ำใจ ก็อาจเป็นปัญหาได้ หรือการรับมือกับปัญหาของทีม บางคนอาจมองว่าปัญหาเป็นเรื่องใหญ่ บางคนมองว่าปัญหาเป็นเรื่องลบ ทีมที่ดีจะมีการพูดคุยกัน แต่ถ้าหากทีมมีความสัมพันธ์ไม่ดี ก็อาจทำให้เข้าใจความสำคัญของปัญหาคลาดเคลื่อนได้ และสุดท้าย ความรู้สึกของพนักงานที่มีต่อทีม หากไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม รู้สึกไม่สนิทสนมหรือเชื่อใจคนในทีม ก็อาจส่งผลให้การทำงานภายในทีมแย่ลงก็เป็นได้ ดังนั้น การให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ของทีมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการสร้างทีมภายในองค์กร

3 สัญญาณเตือน ความสัมพันธ์ในทีมกำลังจะแย่

1. รู้สึกไม่สนิทใจเหมือนเดิม

ถ้าหากมีทีมเคยสนิทกันมาก แต่มีเหตุการณ์บางอย่างที่เปลี่ยนความรู้สึกคนในทีมไป จนทำให้บรรยากาศในทีมไม่เหมือนเดิม อาจเกิดจากการที่ไม่ได้เคลียร์ปัญหาหรือเคลียร์ใจกัน ทำให้รู้สึกไม่สนิทใจเหมือนเดิม ไม่สามารถกลับไปเป็นแบบเดิมได้ 

2. วิธีการสื่อสารไม่ดี

ภาษากายและภาษาพูดที่ไม่ดี มีการประชดประชัน มีการเสียดสีผ่านทางคำพูด มักเป็นสิ่งที่เจอได้ในกลุ่มเพื่อนทำงานหรือทีมที่สนิทกันมาก แต่ถ้าเป็นทีมที่ไม่สนิทกันละก็ อาจจะต้องพิจารณากันดูใหม่ เพราะว่ามันเป็นสัญญาณว่าคนในทีมกำลังก่อสงครามกันอยู่ และอาจส่งผลให้คนในทีมรู้สึกไม่ดี และมีบรรยากาศในการทำงานที่ไม่ดีตามไปด้วย

3. มีการจับผิดกัน 

“งานการไม่ทำ วัน ๆ เอาแต่จ้องจับผิดชาวบ้าน” เคยได้ยินประโยคนี้ไหม ฟังดูอาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในละครเท่านั้น แต่ในหลาย ๆ องค์กรก็มีเรื่องจับผิดคนอื่นเกิดขึ้นอยู่จริง ๆ พอจับผิดก็เอาไปฟ้องหัวหน้าให้คนในทีมโดนดุ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่เคยมีปัญหากัน การไม่ชอบหน้ากัน หรืออาจมีปัญหากับการเห็นเพื่อนพนักงานได้ดีก็เป็นได้

วิธีช่วยประคองความสัมพันธ์ในทีมให้ทำงานได้อย่างราบรื่น

การประคับประคองความสัมพันธ์ของคนในทีมถือเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก แต่ละคนแต่ละทีมก็จะมีสาเหตุในการไม่สนิทใจกันที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละทีมก็ต้องนำคำแนะนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับปัญหาและทีมของตัวเองต่อไป 

1. หาสาเหตุหรือต้นตอของปัญหา

สิ่งแรกที่ควรทำคือการหาสาเหตุว่าการที่ทีมไม่สนิทใจกันเกิดขึ้นจากอะไร ซึ่งสามารถทำได้โดยเรียกคนที่มีปัญหากันมาคุยกันทีละคนว่าเกิดอะไรขึ้น รู้สึกอย่างไร หรือถ้าเป็นทีมที่ไม่ชอบพูดกันตรง ๆ ก็ให้ทีมทำแบบประเมิน เช่น แบบประเมินความพึงพอใจ หรือแบบสอบถามความคิดเห็นต่าง ๆ ให้เป็นการเขียนแทนอาจช่วยสื่อสารได้ดีกว่า

2. ปรับความเข้าใจกัน

ให้คู่กรณีมาพูดคุยกันโดยมีหัวหน้าหรือคนที่มีวุฒิภาวะมาเป็นคนคอยเป็นตัวกลางในการเริ่มต้นบทสนทนา การพูดคุย การไกล่เกลี่ย เพื่อปรับความเข้าใจกัน 

3. ทำกิจกรรมกระชับมิตร

จัดกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในทีม เน้นเป็นกิจกรรมเสริมสร้างความสนิทสนมและการเข้าใจภายในทีม ไม่จำเป็นต้องเป็นกิจกรรมที่จริงจังอย่างการ Outing เป็นกิจกรรมง่าย ๆ กิจกรรมที่ทำให้ได้เห็นทัศนคติของคนในทีมว่ามีความคิดกันอย่างไร ให้ได้แชร์ความคิดเห็น ได้แชร์ตัวตนกัน เพื่อให้ทีมได้รู้จักเพื่อนร่วมทีมในด้านที่นอกเหนือจากการทำงานมากขึ้น

บริการจัดกิจกรรม Team Building เสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในทีมจาก Peace Please Studio

4. เช็กสถานการณ์ภายในทีม

หลังจากทำตาม 3 ข้อที่กล่าวมาลืม สิ่งที่ไม่ควรลืมทำคือการเช็กว่าสถานการณ์ภายในทีมดีขึ้นไหม คู่กรณีทำงานด้วยกันได้ไหม พวกเขาไม่จำเป็นต้องสนิทสนมกัน แต่ควรเข้าใจกันและกัน และทำงานด้วยกันได้ เพียงแค่ทำงานด้วยกันได้และสมาชิกในทีมไม่ได้รับผลกระทบก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว

ถึงแม้ว่าปัญหาระหว่างทีมจะเป็นสิ่งที่องค์กรหลีกเลี่ยงที่จะให้ความสนใจ เพราะมันเป็นเรื่องที่เปราะบางและอาจแก้ไขได้ยาก แต่ถ้าองค์กรยื่นมือเข้าไปช่วยประคับประคองหรือแก้ไขปัญหาก็ย่อมเป็นผลดีต่อทีมมากกว่า และทำให้พนักงานเห็นว่าองค์กรมีความใส่ใจต่อเรื่องภายในทีม ซึ่งอาจส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน และลดอัตราการลาออกได้

อ้างอิง

https://apollocover.com/magazine/

https://hbr.org/