ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและมีความสุขสมกับเป็น Happy Workplace นั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “พนักงาน” เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญกับองค์กรเป็นอย่างมาก หากพนักงานทำงานอย่างไม่มีความสุข ไม่ได้รับความสนใจหรือค่าตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อ ไม่มีพื้นที่ให้เติบโต ไปจนถึงองค์กรไม่มีการปรับตัวหรือปรับทิศทางให้เข้ากับสถานการณ์ ก็อาจส่งผลให้พนักงานทำงานอย่างไม่มีความสุข ผลสุดท้าย องค์กรที่ไม่นับว่าพนักงานไม่ใช่ส่วนสำคัญนั้จะมีหลักฐานเป็นอัตราการลาออกของพนักงานที่ไม่มีวันจบสิ้น
และวันนี้ เราได้นำแนวคิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของพนักงานที่ต่อยอดมาจากทษฎีทางจิตวิทยาอันโด่งดังอย่าง Maslow’s Hierarchy of Needs หรือทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ จนกลายเป็นแนวคิด Employee Hierarchy of Needs แนวคิดความต้องการของพนักงาน เพื่อสร้างให้องค์กรกลายเป็น Happy Workplace ไปด้วยกัน
ว่าด้วย Employee Hierarchy of Needs แนวคิดความต้องการของพนักงาน
หากคุณพอจะเคยได้ยินหรือรู้จัก Maslow’s Hierarchy of Needs หรือทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ มาบ้างนั้น อาจจะพอเข้าใจได้ว่าทฤษฎีนี้ใช้พูดถึงความต้องการในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง โดยจะไล่จากสิ่งพื้นฐานที่ร่างกายต้องการเป็นฐานล่างสุด เช่น อากาศ น้ำ อาหาร และค่อย ๆ ไล่ขึ้นไปเป็นสิ่งที่ใจเราต้องการ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Maslow’s Hierarchy of Needs ได้ที่นี่
ในส่วนของ Employee Hierarchy of Needs หรือแนวคิดความต้องการของพนักงาน ที่เราจะพูดถึงกันนี้ มีการพัฒนาต่อยอดมาจาก Maslow’s Hierarchy of Needs ซึ่งทำขึ้นโดย Shep Hyken ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบริการลูกค้า (Customer Experience : CX) และนักพูดของ Keynote ซึ่งในตอนแรกเขาได้จัดทำ The Customer Hierarchy of Needs แนวคิดความต้องการของลูกค้าขึ้นมา และต่อยอดมาเป็น Employee Hierarchy of Needs หรือแนวคิดความต้องการของพนักงาน เป็นลำดับถัดมา เพื่อให้ผู้คนนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้ในองค์กรเพื่อสร้าง Happy Workplace ต่อไปได้
Employee Hierarchy of Needs หรือแนวคิดความต้องการของพนักงาน เพื่อสร้างองค์กรให้เป็น Happy Workplace ให้พนักงานทำงานได้อย่างมีความสุข ประกอบไปด้วย 5 Needs 5 ความต้องการ ดังนี้
1. ค่าตอบแทน : The Paycheck
เพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่าง Happy ใน Happy Workplace ปัจจัยพื้นฐานที่สุดที่ทำให้ผู้คนอยากทำงานนั่นก็คือ “ค่าตอบแทน” เพราะค่าตอบแทนนี้จะช่วยให้เราสามารถจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อสิ่งดำรงชีพต่าง ๆ ต่อไปได้ เช่น อาหาร น้ำ เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ ค่าตอบแทนยังรวมไปถึงสิทธิขั้นพื้นฐานอื่น ๆ เช่น ประกันสังคม สิทธิลาคลอด สิทธิลาป่วย เป็นต้น
2. วัฒนธรรมองค์กร : The Culture
การจะมี Happy Workplace ที่ดีได้ ไม่ว่าใครก็อยากทำงานในที่ที่มีแนวคิดและเป้าหมายคล้าย ๆ กัน เพราะการมีเป้าหมายที่คล้ายคลึงและสอดคล้องกันจะช่วยผลักดันให้ทั้งพนักงานและองค์กรทำงานร่วมกันได้ในระยะยาวมากขึ้นและมีความสุขมากขึ้น แต่ถ้าหากองค์กรไม่ฟังเสียงของพนักงานหรือมีแนวโน้มที่จะสร้างผลเสียให้กับตัวพนักงาน แน่นอนว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคืออัตราการลาออกที่พุ่งสูงขึ้น
3. ความเฉพาะตัว : Uniqueness
นอกจากพนักงานแต่ละคนจะมีความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับตำแหน่งงานแล้ว พนักงานแต่ละคนยังมีเอกลักษณ์หรือความเฉพาะตัวบางอย่างที่ถ้าองค์กรสามารถมองเห็น องค์กรจะสามารถนำไปต่อยอดให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งองค์กรและตัวพนักงานเองได้ เพราะไม่ว่าใครก็ต้องการการยอมรับและถูกมองเห็นกันทั้งนั้น เช่น พนักงานพูดได้ 5 ภาษา ซึ่งช่วยในการต่อยอดตลาดต่างประเทศ เป็นต้น และยังเป็นการช่วยกระตุ้นให้พนักงานอยากพัฒนาตัวเองให้มากขึ้นอีกด้วย เป็นการส่งเสริมระหว่างองค์กรและพนักงานในการสร้าง Happy Workplace อีกด้วย
4. โอกาสในการเติบโต : Growth Opportunities
ไม่ว่าองค์กรจะมีพนักงานที่ชอบทำอะไรเดิม ๆ ซ้ำ ๆ และทำได้ดี หรือพนักงานที่ชอบเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ พนักงานทั้งสองรูปแบบนี้ต่างสามารถช่วยผลักดันองค์กรให้ไปได้ไกลกันทั้งนั้น เพียงแต่ว่าองค์กรต้องมองหาโอกาสในการนำสิ่งที่พนักงานทำได้ดีมาช่วยต่อยอด หรือเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ใช้ความถนัดในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ เพียงเท่านี้องค์กรก็สามารถทำให้พนักงานรู้สึกสนุกไปกับงานรู้สึกภาคภูมิใจกับความสามารถของตัวเองสมกับเป็น Happy Workplace ได้แล้ว
5. ได้รับการเติมเต็ม : Fulfillment
นอกจากจะเป็นหน้าที่ของพนักงานในการทำงานตามหน้าที่เพื่อเติมเต็มองค์กรแล้ว ในทางกลับกัน องค์กรก็มีหน้าที่ในการเติบเต็มชีวิตการทำงานของพนักงานด้วยเช่นกัน ซึ่งองค์กรสามารถทำได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีเป็น Happy Workplace การให้คุณค่ากับพนักงาน การให้โอกาสพนักงาน และอย่างอื่นตามที่องค์กรเห็นสมควร
ดังนั้นแล้ว เพื่อสร้าง Happy Workplace ให้ตรงกับความต้องการของพนักงาน และเพื่อให้พนักงานได้รับการเติมเต็มอย่างดีที่สุด องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับพนักงานของตัวเองให้มากขึ้น เพื่อให้พนักงานทุกคนทำงานได้อย่างมีความสุข สมกับเป็นองค์กร Happy Workplace นั่นเอง
Happy Workplace คืออะไร?
Happy Workplace คือหลักการ แนวคิด หรือวิธีการที่ช่วยให้องค์กรสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ส่งเสริมการทำงานอย่างมีความสุข และมีสภาพแวดล้อมที่ดีที่ช่วยส่งเสริมพนักงานให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในระยะยาวได้ โดยให้ความสำคัญกับทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของพนักงาน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Happy Workplace ได้ที่นี่
อ้างอิง