เพราะความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งในการร่วมสร้าง Happy Workplace หรือองค์กรที่สร้างความสุขให้กับพนักงาน ผ่านวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมและเป็นองค์กรที่ใส่ใจพนักงานในทุก ๆ มิติ
การมี Happy Workplace หรือวัฒนธรรมองค์กรที่ดีนั้นไม่ใช่สิ่งที่ทางองค์กรหรือพนักงานทำได้โดยลำพัง หากแต่ต้องอาศัยการร่วมมือจากทั้ง 2 ฝ่ายในการร่วมสร้างรากฐานให้องค์กรมีวัฒนธรรมที่ดีไปด้วยกัน
วันนี้เราจึงขอแนะนำ “ความปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน” หรือ Psychological Safety ที่ทำให้พนังงานทำงานได้อย่างมีความสุขสมกับเป็น Happy Workplace มากยิ่งขึ้น
ความปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน (Psychological Safety) คืออะไร?
ความปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน (Psychological Safety) คือข้อตกลงหรือความคาดหวังที่มีต่อเพื่อนร่วมงานหรือในที่ทำงานว่า คนกลุ่มนี้และพื้นที่ในการทำงานนี้เป็นพื้นที่ปลอดภัยในการเป็นตัวของตัวเอง เป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มาปรึกษาหารือร่วมกัน ระดมสมองในการทำงานร่วมกัน กล้าแชร์ความคิดที่ไม่สมบูรณ์แบบ ไปจนถึงจัดการกับปัญหาร่วมกัน โดยจะไม่มีการตัดสิน ทำให้อับอาย ปฏิเสธ หรือลงโทษพนักงานหรือสิ่งที่เกิดขึ้น
การสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน (Psychological Safety) นี้ฟังดูเป็นเรื่องที่ดีในการมี Happy Workplace ตามอุดมคติของใครหลาย ๆ คน แต่การปรับใช้ให้เกิดขึ้นจริงและเป็นประโยชน์ได้นั้นยังมีข้อจำกัดและความท้าทายบางประการโดยขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและผู้นำในองค์กรเป็นหลัก อย่างเช่นวัฒนธรรมองค์กรในไทยที่มีความอ่อนน้อมต่อเพื่อนร่วมงานที่อายุมากกว่า หรือการไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอายุน้อยกว่า การไม่นำปัญหามาปรับแก้ไขอย่างจริงจัง หรือผู้นำไม่ได้คลุกคลีกับพนักงานของตัวเองมากพอจนไม่รู้จักถึงความต้องการที่แท้จริงของพวกเขา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก็อาจทำให้การสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางใจในที่ทำงานกลายเป็นเรื่องยากขึ้นมาได้
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำไม่ได้เสียทีเดียว การสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางใจในที่ทำงานนั้นทำให้เกิดขึ้นได้ในทุกองค์กร เพียงแต่ต้องมีการปรับใช้ให้เข้ากับองค์กรแต่ละองค์กรอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นรายละเอียดที่แต่องค์กรจะต้องหาวิธีปรับตัวร่วมกันเพื่อสร้าง Happy Workplace ให้เกิดขึ้นได้จริง
4 ช่วงของการสร้าง ความปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน (Psychological Safety)
เพื่อสร้างองค์กรให้เป็น Happy Workplace ศาสตรจารย์ Timothy Clark ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับความปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน (Psychological Safety) ได้พูดถึง 4 ช่วงของการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางใจในที่ทำงานไว้ทั้งหมด 4 ช่วงด้วยกัน ดังนี้
1. Inclusion Safety
เป็นช่วงพื้นฐานที่เริ่มจากสิ่งพื้นฐานก่อน นั่นก็คือการยอมรับพนักงานทุกคนในฐานะมนุษย์ที่มีความแตกต่างกัน มีความคิดแตกต่างกัน มีความต้องการแตกต่างกัน มีพื้นเพที่แตกต่างกัน พนักงานทุกคนมีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองที่ทำให้พวกเขาเป็นเขามาจนถึงทุกวันนี้
2. Learner Safety
เมื่อเรามีการยอมรับขั้นพื้นฐานเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นเป็นลำดับถัดมาคือช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน รู้สึกปลอดภัยที่จะถามคำถาม มีความมั่นใจและรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นอย่างเหมาะสม ไม่เกิดความบาดหมางระหว่างกัน และมองว่าความผิดพลาดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ
3. Contributor Safety
เมื่อมีความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นเกิดขึ้นแล้ว นั่นทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของที่ทำงานและองค์กร จนเริ่มมีความรู้สึกที่อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการลงมือ ลงแรง และใช้ทักษะความสามารถของตัวเองในการสร้างประโยชน์หรือความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นภายในองค์กรนั่นเอง
4. Challenger Safety
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สิ่งที่ท้าทายในการสร้าง Happy Workplace ในองค์กรให้เกิดขึ้นได้จริงนั่น จำเป็นต้องมีคนที่กล้าชนกับความผิดปกติและความไม่เป็นธรรมในองค์กร ซึ่งการที่ความปลอดภัยทางใจในที่ทำงานในขั้นที่ 4 จะเกิดขึ้นได้นี้ องค์กรต้องมีพื้นที่ให้กับพนักงานในการกล้าพูดถึงสิ่งที่เป็นปัญหาหรือความขัดแย้งภายในองค์กรโดยที่ไม่ต้องกลัวว่าจะมีผลกระทบใด ๆ ตามมา
5 เคล็ดลับในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน (Psychological Safety) ให้องค์กรเป็น Happy Workplace
- เปิดพื้นที่ในการให้แสดงความคิดเห็น
สิ่งแรก สิ่งพื้นฐานที่ควรทำก็คือการเปิดพื้นที่ให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ และไม่ปิดกั้นความคิดเห็นใด ๆ ซึ่งจะช่วยให้การระดมสมองในการแก้ไขปัญหาหรืออาจได้ไอเดียใหม่ ๆ ในการช่วยทำให้องค์กรเติบโตไปได้ อีกทั้งยังทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของค์กรได้อีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยประกอบสร้างให้องค์กรเป็น Happy Workplace ของทุกคนได้นั่นเอง
- ให้ความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติ
ไม่มีงานใดไม่เคยเกิดความผิดพลาด ถึงแม้ว่าปัญหาหรือความผิดพลาดนี้จะเป็นสิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้นในการทำงานน้อยที่สุด แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า มันอาจเกิดขึ้นมาได้เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของโลกใบนี้ ความผิดพลาดอาจทำให้พนักงานรู้สึกไม่ดีได้ แต่ในฐานะองค์กร Happy Workplace เราสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสผ่านการทำให้พนักงานเล็งเห็นว่าความผิดพลาดนั้นเป็นเชื้อไฟชั้นดีในการทำให้พวกเขาเติบโตขึ้น บทเรียนที่เกิดขึ้นนี่แหละที่จะทำให้เราไม่ผิดพลาดในครั้งหน้า ซึ่งจะทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและพร้อมเผชิญหน้าความผิดพลาดและความท้าทายในอนาคตไปด้วยกัน
- กล้าพูดปัญหา
ทุกองค์กรต่างมีปัญหาแตกต่างกัน การซุกซ่อนปัญหาใต้พรมนั้นไม่ใช่ทางออกที่ดีและยั่งยืน การแก้ปัญหาและเผชิญหน้ากับปัญหาต่างหากที่จะช่วยให้องค์กรจัดการกับปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม การเปิดโอกาสให้พนักงานผู้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรได้พูดปัญหาออกมาโดยไม่มีผลกระทบเข้ามาเกี่ยวข้องจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการสร้าง Happy Workpalce อย่างยั่งยืน
- เฉลิมฉลองกับทุกชัยชนะ
ความผิดพลาดและความผิดหวังไม่ใช่สิ่งเดียวที่เราควรโฟกัสในการทำงาน แต่ชัยชนะและการประสบความสำเร็จก็เป็นอีกสิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญเช่นกัน การให้พนักงานได้เฉลิมฉลองกับความสำเร็จต่าง ๆ จะช่วยให้พวกเขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรต่อไปได้ รวมถึงทำให้พนักงานได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน สมกับเป็น Happy Workaplace อย่างแท้จริงนั่นเอง
- ฝากฝังให้เป็นนโยบาย
แน่นอนว่า การจะสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางใจในที่ทำงานให้ยั่งยืนอยู่ในองค์กรได้นั้น จำเป็นต้องทำให้ค่านิยมที่ดีเหล่านี้ปลูกฝังรากลึกอยู่ในองค์กรผ่านนโยบายด้วย เพราะนโยบายจะช่วยทำให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางใจ และทำให้ทุกคนรู้สึกกระตือรือร้นในการทำให้มันเกิดขึ้นจริงขึ้นมาได้ด้วย เพื่อร่วมสร้าง Happy Workplace ให้เกิดขึ้นได้จริง
การสร้างความปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน (Psychological Safety) ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเช่นกัน ทุกองค์กรสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับองค์กรของตัวเองได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้องค์กรเป็นที่ทำงานที่พนักงานทุกคนสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขอย่างยั่งยืนต่อไปสมกับเป็น Happy Workplace ของทุกคนได้นั่นเอง
อ้างอิง