Burnout Syndrome หมดไฟ หมดใจ หรือเราแค่เบื่อ หรือป่วยเป็นซึมเศร้า?

มองเผิน ๆ อาการ Burnout หรือ ภาวะอาการหมดไฟอาจกลายเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมโลกไปแล้ว เพราะว่าไม่ว่าใครก็สามารถเป็นกันได้เหมือนไข้หวัด จนทำให้หลาย ๆ คนมองข้ามภาวะที่เป็นอยู่นี้จนไม่ได้ใส่ใจมากนัก เพียงแต่ใช้ชีวิตไปวัน ๆ โดยหวังว่าสักวันหนึ่งมันคงจะรู้สึกดีขึ้นมาเอง แต่ในความจริงแล้ว ต่อให้ภาวะ Burnout จะดูเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ง่ายขนาดไหนก็ตาม เราไม่ควรจะมองข้ามมัน หากแต่ควรสังเกตภาวะอารมณ์ของตัวเราเองให้แน่ชัด เพราะไม่แน่ว่าจริง ๆ แล้วคุณอาจมีปัญหาสุขภาพจิตซุกซ่อนอยู่ในหัวใจดวงน้อย ๆ ของคุณอยู่ก็เป็นได้

วันนี้เราจะพาไปดูอาการของภาวะ Burnout ให้มากขึ้นกันว่า มันเป็น Burnout Syndrome ที่พาเราหมดไฟจริง ๆ หรือเราแค่เบื่อ หรือเราจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้า กันแน่นะ?

Burnout Syndrome คืออะไร

Burnout Syndrome ภาวะ Burnout หรือที่เราเรียกกันว่า ภาวะหมดไฟ เป็นภาวะที่เกิดจากการเหนื่อยล้าทางด้านร่างกายและจิตใจชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการอยู่ในภาวะที่มีความตึงเครียดเป็นระยะเวลานาน จึงมีความเหนื่อยล้าทางด้านจิตใจ นำมาสู่ความรู้สึกหมดไฟ ไร้เป้าหมาย ไม่มีแรงในการใช้ชีวิตต่อมา 

อาการของคนหมดไฟ

  • รู้สึกเหนื่อยล้าทางกายและใจ
  • ไม่อยากทำอะไร เริ่มมีการผัดวันประกันพรุ่ง
  • มีความคิดด้านลบเกี่ยวกับตัวเองและผู้อื่น
  • โฟกัสอะไรไม่ค่อยได้
  • หมดแรงกาย แรงใจ ไม่มีอะไรมากระตุ้นให้ตื่นตัวได้
  • ร่างกายไม่รู้สึกผ่อนคลาย นอนไม่ค่อยหลับ
  • มีปัญหาด้านการกิน กินมากไป หรือไม่หิวเลยก็ได้
  • ขี้ลืมมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Burnout ได้ที่นี่

เปรียบเทียบ ภาวะ Burnout vs ความเบื่อ vs ซึมเศร้า

อาการ

ความแตกต่าง
ภาวะ Burnout หมดไฟความเบื่อโรคซึมเศร้า
ระยะเวลา3 เดือน – 1 ปีระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 1 วัน3 เดือนขึ้นไป
ความรู้สึกเบื่อ ไม่อยากทำอะไร เหนื่อยง่าย ไม่ผ่อนคลายรู้สึกว่าสิ่งรอบตัวไม่มีอะไรน่าสนใจมีอาการคล้ายภาวะหมดไฟ แต่จะมีความรู้สึกเศร้าและสิ้นหวังชัดเจนกว่า
สาเหตุความเหนื่อยล้าทางร่างกายและจิตใจ สิ่งรอบข้างไม่มีอะไรน่าสนใจ มีแต่อะไรเดิม ๆมีทั้งด้านพันธุกรรม สภาพจิตใจ อารมณ์ ความคิด การตอบสนองทางด้านจิตใจ ไปจนถึงสภาพแวดล้อม การอยู่อาศัย สภาพเศรษฐกิจ การเลี้ยงดู ประสบการณ์ในวัยเด็ก
ความเสี่ยงอาจเข้าข่ายภาวะซึมเศร้าได้อาจเข้าข่ายภาวะ Burnout หมดไฟและภาวะซึมเศร้าได้โรคซึมเศร้าเรื้อรัง 

จากการเปรียบเทียบตารางด้านบนทำให้เห็นว่า ทั้งภาวะ Burnout หรือภาวะหมดไฟ และความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปนั้น สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ทั้งนั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าหากเกิดภาวะ Burnout หรือ ภาวะหมดไฟหรือเกิดเบื่อขึ้นมาอาจไม่ได้แปลว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าเสมอไป หากสงสัยว่าตัวเราเองมีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ สามารถเข้าพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยทางการแพทย์ต่อไปได้

แนะนำวิธีจัดการกับภาวะ Burnout

  • หาเวลาพักผ่อนจากการทำงาน
  • ดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้มากขึ้น
  • ออกจาก Comfort Zone ไปทำอะไรใหม่ ๆ กิจกรรมที่ไม่เคยทำ ไปพบผู้คนกลุ่มใหม่
  • ลองจัดการชีวิตให้เป็นระเบียบมากขึ้น เช่น จัดบ้าน จัดตารางการทำงานในแต่ละวัน
  • พูดคุยกับคนใกล้ตัวเพื่อแชร์ความรู้สึก
  • ใช้เวลากับตัวเองให้มากขึ้นผ่านการฝึกสติ หรือ Mindfulness

เพราะการปล่อยให้ภาวะ Burnout หรือภาวะหมดไฟเกิดขึ้นโดยไม่ได้รับการแก้ไขนั้นอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของเราได้มากกว่าที่คิด อย่าปล่อยให้ภาวะนี้เกิดขึ้นไปเรื่อย ๆ จนกัดกินจิตวิญญาณและความรู้สึกของการมีชีวิตเลยนะ มาพยายามทำให้ชีวิตครั้งเดียวของเรามันน่าใช้และมีความสุขกันดีกว่า