Onsite, Hybrid, Remote มีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร แล้วองค์กรเราควรเลือกทำงานแบบไหน?

Onsite, Hybrid, Remote

ก่อนโควิด-19 จะเข้ามา เราทุกคนต่างคุ้นชินกับการทำงานที่ออฟฟิศ หรือการทำงาน Onsite ที่ต้องเข้าที่ทำงานทุกวัน เดินทางทุกวัน และมีปฏิสัมพันธ์กับคนในที่ทำงานอยู่เป็นประจำ แต่พอโควิด-19 เข้ามา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เหตุการณ์นี้คือการผลิกโฉมรูปแบบการทำงานแบบเดิมอย่างแท้จริง ด้วยรูปแบบการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid) ที่มีทั้งการเข้าออฟฟิศและทำงานที่ไหนก็ได้ และรูปแบบการทำงานที่ไหนก็ได้ (Remote) ที่ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถทำงานร่วมกันผ่านโลกออนไลน์ได้ 

ถึงแม้ว่าในบางองค์กร อย่างบริษัทข้ามชาติหรือบริษัทสาย IT จะมีรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid และ Remote มาก่อนกาลแล้ว แต่โควิด-19 ได้เข้ามาทำให้สายงานของหลาย ๆ องค์กรต้องปรับตัวไปเป็นรูปแบบการทำงานไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทำให้พนักงานได้รู้จักกับการทำงานแบบ Hybrid และ Remote บางคนก็ชอบการทำงานแบบนี้ บางคนก็ไม่ จนเมื่อสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น หลาย ๆ องค์กรก็ต้องการให้พนักงานกลับมาทำงานแบบ Onsite ซึ่งเป็นการจุดประกายบทสนทนาเกี่ยวกับรูปแบบการทำงานว่า จริง ๆ แล้ว รูปแบบการทำงานแบบ Onsite ยังจำเป็นและเหมาะสมกับรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันหรือไม่?

เปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่าง Onsite, Hybrid, Remote

ประเภท/ความแตกต่างOnsiteHybridRemote
สถานที่ทำงานออฟฟิศสำนักงานออฟฟิศสำนักงาน / สถานที่ที่พนักงานต้องการทำงาน ส่วนใหญ่จะเป็นสถานที่ที่เดินทางไปได้ง่าย ไม่ไกลจากออฟฟิศ เช่น บ้าน คาเฟ่ ห้องสมุด Co-working Space เป็นต้นสถานที่ที่พนักงานต้องการทำงาน มีทั้งสถานที่เดินทางไปได้ง่าย ไม่ไกลจากออฟฟิศ เช่น บ้าน คาเฟ่ ห้องสมุด Co-working Space เป็นต้น 

รวมไปถึงเทรนด์การทำงานที่เรียกว่า Digital Nomad ที่ทำงานแบบ Remote ไปด้วย และท่องเที่ยวไปด้วย
การสื่อสาร / เครื่องมือที่ใช้พูดคุยและประชุมกันแบบ Face-to-face และใช้อีเมลมีทั้งการสื่อสารแบบ Face-to-face และใช้โปรแกรมออนไลน์ในการสื่อสาร เช่น Zoom, Google Meet, Microsoft Team รวมถึงใช้อีเมลสื่อสารโดยผ่านโปรแกรมออนไลน์ เช่น Slack, Asana ใช้อีเมล และโปรแกรมออนไลน์ในการสื่อสาร เช่น Zoom, Google Meet, Microsoft Team
เวลาเข้างานมีเวลาเข้างานที่กำหนดไว้ แต่บางองค์กรก็มีเวลาเข้างานที่ยืดหยุ่นเช่นกันมีเวลาเข้างานที่กำหนดไว้ แต่บางองค์กรก็มีเวลาเข้างานที่ยืดหยุ่นเช่นกันมีเวลาเข้างานยืดหยุ่น  มีเวลาเข้างานที่กำหนดไว้ ซึ่งถ้าหากเป็นบริษัทต่างชาติก็อาจต้องทำงานในช่วงเวลาแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ เช่น บริษัทแม่อยู่ที่อเมริกา เวลาทำงานของพนักงานที่อยู่ไทยก็จำเป็นต้องทำช่วงกลางคืนแทน

รูปแบบการทำงาน Onsite, Hybrid, Remote มีผลต่อการทำงานอย่างไร?

รูปแบบการทำงานทั้ง 3 แบบ Onsite, Hybrid และ Remote คือสภาพแวดล้อมของการทำงานรูปแบบหนึ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อความพึงพอใจในการทำงาน ซึ่งปัจจัยนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะสามารถทำงานได้ดีที่สุดเมื่ออยู่ในพื้นที่แบบไหน บางคนโอเคกับการทำงาน Onsite ได้พูดคุยกับทีมโดยตรง ได้ออกจากบ้าน ได้กินข้าวนอกบ้าน บางคนโอเคกับการทำงานที่ออฟฟิศบ้าง ทำงานที่บ้านบ้าง เบื่อ ๆ ก็เปลี่ยนบรรยากาศไปนั่งงานที่คาเฟ่ ได้ประชุมกับทีมในวันที่เข้าออฟฟิศ ส่วนวันที่ทำงานที่อื่นก็คุยกับผ่านโปรแกรมแทน และบางคนก็โอเคกับการไม่เจอใคร เน้นพูดคุยผ่านอีเมลและโปรแกรม เป็นต้น ถึงแม้ว่าแต่ละคนมีความต้องการแตกต่างด้านสถานที่แตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนมีเหมือนกัน คือการทำงานให้สำเร็จตามแผนที่วางไว้ สถานที่เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการทำงานของแต่ละบุคคลเท่านั้น

เลือกรูปแบบการทำงานแบบไหนให้เหมาะสมกับองค์กร?

จากตารางการเปรียบเทียบความแตกต่างด้านบน มี 3 สิ่งที่ควรมีการพิจารณาเพิ่มเติม คือ ลักษณะงาน ค่าใช้จ่ายที่พนักงานและองค์กรต้องรับผิดชอบ รูปแบบการทำงานของคนในทีม

  • ลักษณะงาน เพราะงานแต่ละชนิดในแต่ละสายงานมีรายละเอียดแตกต่างกัน เช่น งานก่อสร้าง งานหน้าร้าน งานเหล่านี้จะไม่สามารถทำในรูปแบบ Hybrid และ Remote ได้เลย แต่ถ้าเป็นงานที่มีการใช้งานผ่านโปรแกรมต่าง ๆ ได้ เช่น การจัดการ การบริการลูกค้าออนไลน์ การออกแบบ เป็นต้น ก็สามารถปรับเปลี่ยนให้สามารถทำแบบ Hybrid และ Remote ได้  
  • ค่าใช้จ่ายที่พนักงานและองค์กรต้องรับผิดชอบ เป็นค่าใช้จ่าแฝงที่แต่ละฝ่ายต้องรับผิดชอบ ซึ่งจะสามารถช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าองค์กรควรรับมีรูปแบบการทำงานแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลออฟฟิศ ค่าเช่าตึกหรืออาคาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าทำความสะอาด ค่าโปรแกรมต่าง ๆ ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่พนักงานต้องรับผิดชอบ เช่น ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าเดินทาง ค่าอาหารกลางวัน เป็นต้น ซึ่งการทำงานในแต่ละรูปแบบก็จะมีรายละเอียดของค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป เช่น การทำงานรูปแบบ Remote อาจช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กรไปได้ส่วนหนึ่ง แต่ค่าไฟและค่าอินเทอร์เน็ตจะไปตกที่พนักงานเอง ซึ่งก็ต้องมีการหารือต่อไปว่าพนักงานอยากให้ช่วยซัพพอร์ตตรงไหน และองค์กรสามารถซัพพอร์ตตรงไหนได้บ้าง 
  • รูปแบบการทำงานของคนในทีม แต่ละทีมจะมีรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมแตกต่างกันไป บางทีมเจอหน้ากันทุกวันดีกว่า เพราะเจอหน้ากันจะเป็นการกระตุ้นให้ทำงานได้ดี บางทีมต้องการพักไปทำงานที่บ้านแล้วค่อยมาประชุมกันตามวันที่เข้าออฟฟิศ บางทีมก็อยากคุยกันผ่านโปรแกรมออนไลน์ล้วน ๆ ก็มีเช่นกัน  

ปัจจัยเหล่านี้จะสามารถช่วยให้องค์กรตัดสินใจได้ว่า เราควรเลือกรูปแบบการทำงานแบบไหนให้แต่ละทีมและพนักงานแต่ละคนสามารถแสดงศักยภาพออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อให้พนักงานได้ทำงานอย่างมีความสุข และเพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อไป

โปรแกรมดูแลสุขภาพจิต ของ Peace Please Studio สำหรับองค์กร